![]() ![]() ![]() |
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() |
|
![]() ข้อแนะนำเชิงนโนบายด้านข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Guideline) (ตอนที่ 2)
![]() 3. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ สำหรับเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันนี้การติดต่อสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศของตนและกลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทุกประเทศในโลกไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงการทำการค้ากับต่างประเทศ หรือประเทศเนื่องจากข้อมูลเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ การได้มาซึ่งข้อมูลโดยเสรีเป็นปัจจัยสำคัญในภูมิภาคเดียวกัน การมีกฎหมายที่สอดคล้องกันเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินการทางการค้าระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมาก เช่น การไหลเวียนของข้อมูลโดยการส่งสัญญาณดาวเทียม และเครือข่ายการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งอยู่นอกเหนือข้อจำกัดทางเขตแดนของประเทศ แต่รัฐสามารถระงับการติดต่อสื่อสารที่มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลไปใช้ในทางที่ผิดได้ 3.1 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guidelines on the Protection of Privacy and Transborder Flows of Personal Data) องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ออกแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดูแลการส่งผ่านข้อมูลระหว่างประเทศ (Transborder flow) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ซึ่งเริ่มต้นมาจากปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในบทบัญญัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละประเทศ ซึ่งอาจเป็นการขัดขวางการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์หลักของแนวทางนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิก OECD ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชนและผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลายในการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้า กฎเกณฑ์ของแนวทางฉบับนี้ เป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำของหลักการเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้นำไปปฏิบัติภายในแต่ละประเทศ แนวปฏิบัติฉบับนี้ไม่ได้แยกระหว่างหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน และไม่ได้แยกว่าเป็นการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลโดยวิธีการอัตโนมัติหรือโดยวิธีการประมวลผลด้วยมือ ขอบเขตความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data) หมายถึง ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องเฉพาะตัวบุคคล หรือสามารถชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะตัวบุคคลเจ้าของข้อมูลได้ ซึ่งโดยภาพรวมของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีหลักการดังนี้ 1. หลักข้อจำกัดในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บจะต้องได้มาโดยวิธีการที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย โดยต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลรับทราบและยินยอมในการจัดเก็บข้อมูล 2. หลักคุณภาพของข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บต้องเป็นข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้ และต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์และถูกต้องตรงตามความเป็นจริงอยู่เสมอ 3. หลักการกำหนดวัตถุประสงค์ ต้องมีการกาหนดวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้น 4. หลักการจำกัดการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูลจะกระทำได้โดยขัดต่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บมิได้เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือได้รับอนุญาตตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด 5. หลักการรักษาความปลอดภัย ต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อป้องกันความเสื่อมเสีย การเข้าถึง การทำลาย การใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต 6. หลักการเปิดเผยข้อมูล ต้องกำหนดวิธีการทั่วไปในการเปิดเผยข้อมูล รูปแบบของการเปิดเผย หลักเกณฑ์ในการขอให้มีการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งต้องไม่เป็นการกระทบต่อความเป็นอยู่ส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล 7. หลักการมีส่วนร่วมของปัจเจกบุคคล กำหนดให้ปัจเจกชนมีสิทธิต่างๆ ดังต่อไปนี้
8. หลักความรับผิดชอบ กำหนดความรับผิดในกรณีมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของตน ในส่วนของการไหลเวียนของข้อมูลระหว่างประเทศ ได้กำหนดหลักการให้ประเทศสมาชิกรับรองการไหลเวียนข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงการส่งข้อมูลทั้งหมดในประเทศสมาชิกอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย และให้ประเทศสมาชิกงดเว้นจากการจำกัดการไหลเวียนของข้อมูลระหว่างประเทศ เว้นแต่ประเทศที่มีวัตถุประสงค์ที่จะไม่ปฏิบัติตามแนวทาง หรือเมื่อมีการส่งออกไปใหม่ของข้อมูลที่อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูล หรือในกรณีข้อมูลส่วนบุคคลบางชนิด หรือในกรณีประเทศอื่นที่มีบทบัญญัติในการคุ้มครองข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกันหรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับได้ 3.2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อบังคับสหภาพยุโรป (European Union Directive 95/46/EC) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ข้อบังคับสหภาพยุโรป 95/46 เริ่มต้นขึ้นในปี 1995 นับเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับระหว่างประเทศฉบับแรกที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ถูกสร้างขึ้นโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อบังคับฉบับนี้ให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของข้อมูล ทั้งยังให้การรับรองว่าข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตลอดทั้งตลาดร่วมยุโรป โดยมีขอบเขตการบังคับใช้ คือ ในมาตรา 2 ได้ให้คำจำกัดความของข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) ว่าหมายถึงข้อมูลข่าวสาร (information) ใดๆ ที่ชี้เฉพาะตัวบุคคล หรือสามารถบ่งชี้ลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล ซึ่งหมายถึงบุคคลธรรมดา (natural person) ที่เป็นเจ้าของข้อมูล (data subject) การชี้เฉพาะตัวบุคคลอาจเป็นไปโดยตรงหรือโดยอ้อม การอ้างอิงถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขประจำตัว ลักษณะสาคัญทางกาย สรีระ จิตใจ สถานะทางการเงิน สังคม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถชี้เฉพาะตัวบุคคลได้ และในขอบเขตของการบังคับใช้ทั้งในการประมวลข้อมูลโดยวิธีการปกติ (manual) และการประมวลผลข้อมูลโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอัตโนมัติ (electronic or automatic) ดังนั้น ประชาชนทุกคนในสหภาพยุโรป ทุกหน่วยงานราชการ และในทุกบริษัทห้างร้าน และองค์กรธุรกิจเอกชนทุกแห่งต้องสามารถให้ความมั่นใจได้ว่าได้มีการนำกฎเกณฑ์การคุ้มครองไปปฏิบัติจริงในมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งสหภาพยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือเพื่อให้ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป มีแนวทางการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่สอดคล้องกัน และเพื่อให้มีมาตรฐานในการปฏิบัติในการส่งข้อมูลส่วนบุคคลภายในประเทศสมาชิก ข้อบังคับฉบับนี้ได้เรียกร้องให้มีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองข้อมูลในแต่ละประเทศ เพื่อให้การคุ้มครองประชาชนมากขึ้น สำหรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับภาคเอกชน โดยเฉพาะในบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจการค้า ต้องยึดหลักการที่เป็นสาระสำคัญดังนี้
นอกจากการควบคุมการส่งข้อมูลภายในประเทศสมาชิกแล้ว สำหรับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หากจะทำการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ก็ต้องมีมาตรการการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมเป็นที่พอใจแก่สหภาพยุโรปด้วยเช่นกัน ซึ่งมาตรการที่เหมาะสมที่สหภาพยุโรปได้ตั้งไว้ แม้กระทั่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการค้าและการลงทุนกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมากที่สุด และมีการเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ก็ยังมีรูปแบบการคุ้มครองไม่เหมือนกับสหภาพยุโรป ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาใช้ระบบควบคุมตนเอง (self-regulation) โดยภาคเอกชนกำหนดการควบคุมข้อมูลขึ้นมาด้วยตนเอง ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีการพยายามหาวิธีการที่ประนีประนอมเพื่อเป็นทางออกและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายนี้ 3.3 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อตกลง (Convention) ของรัฐสภาแห่งยุโรป (Council of Europe) ข้อตกลงของรัฐสภาแห่งยุโรป ประกาศใช้ในปี 1981 มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการประมวลผลโดยวิธีอัตโนมัติ และเปิดเสรีในการไหลเวียนข้อมูลระหว่างประเทศ โดยมีหลักการดังนี้
และเพื่อควบคุมการคุ้มครองให้เป็นไปตามกฎหมาย จึงกำหนดให้มีองค์กรคือ The Council of European’s Committee ทำหน้าที่คอยดูแลการละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวอันเกิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล 3.4 กรอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามของ UN สหประชาชาติก็ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลไว้ใน “แนวทางการควบ คุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์” (Guidelines for the Regulation of Computerized Personal Data Files) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
3.5 กรอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ APEC กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ ได้กาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (APEC Information Privacy Principles) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
กล่าวโดยสรุป การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยบทบัญญัติที่มีผลบังคับใช้ ได้แก่ สนธิสัญญาฉบับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางของ OECD ข้อบังคับสหภาพยุโรป 95/46 หรือข้อตกลงของรัฐสภาแห่งยุโรป ล้วนเป็นกรอบที่ใช้บังคับเกี่ยวกับการส่งและรับข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ หลักสำคัญประการหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายนี้ คือบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการส่งข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International data transfers or Transborder data flows) ซึ่งกำหนดว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะดำเนินการได้เฉพาะระหว่างประเทศที่มีกฎหมายหรือมีมาตรการในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีมาตรฐานเพียงพอ กฎเกณฑ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการส่งข้อมูลในบางกรณีที่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติระหว่างประเทศ เช่น การส่งข้อมูลไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับสหภาพยุโรป ที่กาหนดมาตรการเพื่อการคุ้มครองข้อมูล โดยได้กาหนดห้ามส่งและรับข้อมูลข่าวสารกับประเทศที่ไม่มีมาตรการที่มีมาตรฐานในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในข้อมูลส่วนบุคคลและมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ (อ่านต่อฉบับหน้า) --------------------------------------------------------------------------------------- 1 ศิริกุล ภู่พันธ์ และ นคร เสรีรักษ์, “กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล,” กลุ่มงานนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, 2544. |
![]() |