![]() ![]() ![]() |
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() |
|
![]() ธันวาคม 2562 : ที่สุดของการเมืองปี 2562
ผลสำรวจความเห็นต่อการเมืองปี 62 เมื่อวันศุกร์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562, ผศ. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POL) เปิดเผยผลโพลเรื่อง “ที่สุดของการเมืองปีที่ผ่านมา” กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำรวจทั้งในโลกโซเชียล (Social Media Voice) และเสียงประชาชนในโลกดั้งเดิม (Traditional Voice) จำนวนทั้งสิ้น 1,220 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-26 ธันวาคม 2562 มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
“5 อันดับข่าวการเมือง” ที่ประชาชนสนใจติดตามมากที่สุด
สปน. สรุปเรื่องร้องทุกข์ ปีงบ 2562 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และเสนอความคิดเห็นช่องทางการร้องทุกข์ 1111 (5 ช่องทาง) ประจำปีงบประมาณ 2562 ว่า มีประชาชนรายย่อยมาใช้บริการ 80,075 ราย แบ่งเป็นมายื่นเรื่องที่จุดบริการประชาชน 1111 จำนวน 2,037 ราย และกลุ่มมวลชน 244 กลุ่ม โดยทั้งหมด 80,319 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 72,899 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 90.76 เปอร์เซ็นต์ รอผลการพิจารณา 7,420 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 9.24 เปอร์เซ็นต์ โดยผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล 1111 มากที่สุด จำนวน 123,990 ครั้ง รองลงมาคือช่องทาง ตู้ ปณ.1111 ไปรษณีย์ โทรสาร จำนวน 8,626 ครั้ง ช่องทางเว็บไซต์ www.1111.go.th จำนวน 5,223 ครั้ง จุดบริการประชาชน 1111 จำนวน 3,081 ครั้ง โมบายแอพพลิเคชั่น PSC 1111 จำนวน 1,418 ครั้ง ตู้ ปณ. 444 จำนวน 176 ครั้ง และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 1 ครั้ง ส่วนเรื่องที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการเองจนเป็นที่ยุติไม่ได้ส่งให้หน่วยงานดำเนินการ จำนวน 26,977 เรื่อง โดยเรื่องที่ต้องประสานกระทรวง จำนวน 20,238 เรื่อง แบ่งเป็นกระทรวงการคลังอันดับ 1 จำนวน 4,656 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 3,096 เรื่อง กระทรวงมหาดไทย 2,772 เรื่อง กระทรวงยุติธรรม 1,613 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 1,273 เรื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1,205 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 1,184 เรื่อง ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมน้อยสุด คือ 54 เรื่อง ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ จำนวน 7,894 เรื่อง แบ่งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 7,006 เรื่อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 198 เรื่อง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) 172 เรื่อง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 149 เรื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย 122 เรื่อง และอื่นๆ 247 เรื่อง ส่วนรัฐวิสาหกิจ แบ่งเป็น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 684 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 580 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 549 เรื่อง ธนาคารออมสิน 469 เรื่อง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 306 เรื่อง และอื่นๆ 2,281 เรื่อง นอกจากนี้ ประเภทเรื่องหลักที่ประชาชนร้องทุกข์มากที่สุด คือ สังคมและสวัสดิการ จำนวน 48,880 เรื่อง การเมือง-การปกครอง จำนวน 7,936 เรื่อง เศรษฐกิจ จำนวน 7,601 เรื่อง การร้องเรียนกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 7,331 เรื่อง กฎหมาย จำนวน 4,793 เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3,659 เรื่อง และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนวยความสะดวก จำนวน 119 เรื่อง แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 17,563 เรื่อง ภาคกลาง 14,924 เรื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ8,024 เรื่อง ภาคใต้ 6,507 เรื่อง ภาคเหนือ 4,814 เรื่อง ภาคตะวันออก 4,296 เรื่อง และต่างประเทศ/ไม่ระบุ 24,191 เรื่อง ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการแจ้งเรื่อง อันดับหนึ่ง คือ เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ 41,053 เรื่อง รองลงมา คือ เสนอข้อคิดเห็น/ให้ข้อมูล 18,056 เรื่อง แจ้งเหตุด่วน/เหตุร้าย/เหตุฉุกเฉิน 13,705 เรื่อง แจ้งเบาะแส 6,718 เรื่อง ชมเชย/อวยพร/ ให้กำลังใจ 657 เรื่อง ขอข้อมูล/ขอเอกสาร 75 เรื่อง และขอคำแนะนำปรึกษา 55 เรื่อง อนค. จัดแฟลชม็อบ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้จัดกิจกรรมของ ที่ใช้ชื่อว่า "เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง" ที่บริเวณสกายวอล์ค สี่แยกปทุมวัน ในรูปแบบของแฟลชม็อบ มีประชาชนถือแผ่นกระดาษที่เขียนข้อความแสดงความไม่พอใจรัฐบาลมาร่วมแสดงในงาน เช่น “อย่าข้ามหัวประชาชน” “ประยุทธ์ออกไป” เป็นต้น เมื่อถึงเวลา 17.00 น. น ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เดินทางมาถึงพื้นที่ ก่อนหน้านี้ นายธนาธร ได้เฟซบุ๊กไลฟ์ เชิญชวนทุกคนมาแสดงออกถึงความไม่พอใจในรัฐบาลใน วันที่ 14ธันวาคม เวลา 17.00 น. ที่สกายวอล์ก ปทุมวัน ในวันที่ 14 ธันวาคม มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งควบคุมฝูงชน ชาย 1 กองร้อย และกองร้อยน้ำหวาน อีก 1 หมวด มาเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาคารนิมิตรบุตรเพื่อดูแลความสงบและรักษาความสงบเรียบร้อย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่านายธนาธร มีความผิดตามมาตรา 98 แห่งรัฐธรรมนูญเนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นสื่อ และให้พ้นจากตำแหน่งสามชิกสภาผู้แทนราษฎรนับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ศาล รธน. รับวินิจฉัยคดี อนค. กู้เงินธนาธร เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นขอให้พิจารณากรณีพรรคอนาคตใหม่กู้เงิน โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวน ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ศาลได้แจ้งให้ กกต. ทราบและส่งสำเนาคำร้องให้พรรคอนาคตใหม่ แจ้งข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับสำเนาคำร้อง และนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันอังคารที่ 21 มกราคม 2563 เวลา 11:30 น. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า กรณีพรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จำนวน 191,200,000 บาท เป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หรือไม่ และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 62 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ไม่เปิดโอกาสให้พรรคกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการของพรรคได้ ขณะเดียวกันมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 โดยได้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองมีมูลค่าเกินกว่า 10 ล้านบาท ต่อพรรคการเมืองต่อปี ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมาตรา 66 มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี และให้เงินทรัพย์สินส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทตกเป็นของกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง ทั้งนี้ ตามมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กำหนดว่า ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่มาตรา 92 กำหนดว่าเมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น (3) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรคสอง มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 36 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 72 หรือมาตรา 74 มติเอกฉันท์! สภาตั้ง กมธ. ศึกษาแก้ รธน. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 สภาผู้แทนราษฎร มีมติ445 งดออกเสียง 3 เสียง ไม่มีสมาชิกคนใดลงมติคัดค้าน ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จำนวน 49 คน 8 มาตรการรองรับสังคมผู้สูงวัย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการรองรับสังคมผู้สูงวัยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เสนอ ดังนี้คือ
นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครม. จึงเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้ขยายคุณสมบัติของบุคคลซึ่งสมัครเข้าประกันตนตามมาตรา 40 พ.ร.บ.ประกันสังคม จาก "ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์" เป็น "ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์" ซึ่งคุณสมบัติตามมาตรา 40 ครอบคลุม ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เกษตรกร รวมไปถึงพนักงานอิสระต่างๆ ประเทศไทย พ.ศ. 2561 มีประชากรที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของประชากรทั้งหมด ค่าเฉลี่ยอายุคนไทยอยู่ที่ 77 ปี และมีอัตราเจริญพันธุ์อยู่ที่ 1.5 คน ซึ่งส่งผลต่อการจัดระบบสวัสดิการและการประกันสังคมแก่ผู้สูงอายุ การบริการทางด้านสุขอนามัยและการดูแลผู้สูงอายุ โดยปี 2561 รัฐบาลได้จ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุจำนวน 8.38 ล้านคน เป็นเงินงบประมาณ 66,000 ล้านบาท และดำเนินโครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สิ้นเดือนธันวาคม มีผู้บริจาค 811 ราย เป็นจำนวนเงิน 2.8 ล้านบาท เงินบริจาคนำเข้ากองทุนผู้สูงอายุ ในจำนวนประชากรสูงอายุ 11.7 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานอยู่ประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ 4.36 ล้านคน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเกือบ 2 เท่า โดยในภาพรวมเป็นการทำงานนอกระบบร้อยละ 88.2 ซึ่งเท่ากับเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง 'แผนปฏิรูปประเทศ' วงรอบ ก.ค.-ก.ย. คืบหน้า 5 ด้าน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ บัญญัติให้ ครม. ต้องแจ้งความคืบหน้าต่อรัฐสภาทุก 3 เดือน โดย สศช. รายงานว่า รอบระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน มีความคืบหน้า 5 ด้าน คือ
ฎีกาคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา เบญจา หลุยเจริญ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาศาลฎีกา คดีเลี่ยงภาษีหุ้น ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร และพวก รวม 5 คนๆ ละ 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในฐานที่ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 กรณีพวกจำเลยได้ช่วยเหลือนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาวของนายทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี เลี่ยงเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย ในการซื้อหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ซึ่งถือเป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาทรวม 15,883,900,000 บาท คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 คนละ 3 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากร ตาม ป.อ.มาตรา 157 ส่วนจำเลยที่ 5 จำคุก 2 ปี ฐานเป็นผู้สนับสนุนฯ |
![]() |