|

การจัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” จัดโดย สถาบันนโยบายศึกษา ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 วันเสาร์ที่ 28 – วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องเพทาย โรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้น อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ ศึกษานิเทศก์และครู ในเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 39 คน ซึ่งการมาจัดงานครั้งนี้ เพื่อนำแนวคิดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองสู่การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของไทย
ช่วงเช้าของวันแรก คุณทิพย์พาพร ตันติสุนทร ผู้อำนวยการร่วม สถาบันนโยบายศึกษา ได้กล่าวถึงความสำคัญและความจำเป็นของการสร้างพลเมืองโดยผ่านระบบการศึกษา ซึ่งหมายถึงการสร้างการเรียนรู้และการฝึกฝนให้ “คน” ได้เกิดสำนึกที่ดีต่อสังคมและประเทศ การศึกษาในการสร้างพลเมืองจึงเป็นเครื่องมือที่จะเตรียมคนให้เข้าไปสู่สังคมใหญ่ที่มีความซับซ้อนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยมีเป้าหมายที่ให้ “คน” เหล่านี้ได้ทำหน้าที่ของพลเมืองเพื่อปกป้องและพิทักษ์ประโยชน์ของสังคมและประเทศ ดังนี้ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความ | 
อาจารย์อุบล แก้วปิ่น ศึกษานิเทศก์ ร้อยเอ็ด เขต 2 กล่าวชี้แจงก่อนเปิดการสัมมนาฯ |

คุณทิพย์พาพร ตันติสุนทร | สามารถให้กับ “คน” เพื่อที่จะเป็น “พลเมือง” ให้ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบทางสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ ทั้งในชีวิตทั่วไปและชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ข้าราชการ นักการเมือง หรือพรรคการเมืองเท่านั้น การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองจึงเป็นการศึกษาในความหมายอย่างกว้างที่ครอบคลุมทั้งที่เป็นการศึกษาอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงสื่อมวลชนด้วย ที่มีกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้ใหญ่วัยทำงาน เพื่อตอกย้ำการฝึกฝนเรียนรู้ให้คนในสังคมได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมต่อประเด็นปัญหาของสังคมได้ด้วยตนเอง
|
หัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย คือ การให้มีอิสระ เสรีภาพในการคิดและการแสดงออกโดยตัวผู้เรียน พร้อมๆ กับการป้อนข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องโดยปราศจากการครอบงำและชี้นำจากผู้สอน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนเช่นนี้ แสดงถึงการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ต้องการการแสดงออก และให้ได้การยอมรับระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนทักษะการแสดงออกที่ถูกต้อง มีเหตุผล มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สร้างความเชื่อมั่นในตนเองแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีความกล้าในการพัฒนาตนในทางสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้จริง ตั้งแต่ห้องเรียน กระทั่งนำสู่การนำประเด็นทางสังคมมาถกเถียงเพื่อแสวงหาทางออกโดยตัวผู้เรียน ทำให้ห้องเรียนเป็นสังคมจำลองที่ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนเตรียมตัวสู่สังคมใหญ่ในอนาคต ซึ่งผู้เรียนจะค่อยๆ สั่งสมทักษะและประสบการณ์ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมทางสังคมตั้งแต่เด็ก และสามารถเชื่อมโยงตัวตนของผู้เรียนกับสังคมใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดสำนึกสาธารณะที่จะสามารถพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลงได้ก็ด้วยการเข้าใจและรู้เท่าทันทางการเมือง คือ ระบอบการเมืองด้วย ซึ่งการให้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองจึงต้องให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกด้วย
ช่วงบ่ายวันแรก ดร.วัฒนา อัคคพานิช จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการให้ “ผู้เรียน” ได้มีพื้นความรู้ทางการเมือง ซึ่งแยกออกจากชีวิตประจำวันไม่ได้ เพราะการเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคน จึงมีความจำเป็นที่คนไทยจะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และการทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยให้หันมาสนใจเรื่องการเมือง และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาทางการเมืองตั้งแต่ต้น ซึ่ง ดร.วัฒนา ได้ยกตัวอย่างรูปธรรมจากสังคมว่า ปัญหาการเมืองไทยในสมัยแต่ก่อนมักถูกใครหลายๆ คนมองว่าเป็นผลพวงมาจากการที่เรามีระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ดี ไม่เพียบพร้อม หรือ ไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่ได้มีสิทธิ เสรีภาพ และ อำนาจในการบริหารประเทศอย่างแท้จริง ดังนั้นนักวิชาการทั้งหลายจึงมุ่งไปที่การแก้ไขที่ตัวระบอบ ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่มีการปฏิรูปการเมืองขนานใหญ่ | 
ดร.วัฒนา อัคคพานิช |

ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 และครู ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 | ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้นด้วยการให้ ส.ว. 200 คนมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ให้มีศาลปกครองเพื่อให้ประชาชนฟ้องหน่วยงานของรัฐที่ใช้อำนาจละเมิด ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาการทำการเมืองให้มีประสิทธิภาพทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้นโดยให้มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เพิ่มประสิทธิภาพแก่ฝ่ายนิติบัญญัติจากการเพิ่มวันประชุมรัฐสภาจากเดิมประชุมปีละ 2 สมัยๆ ละ 90 วัน เป็นประชุมปีละ 2 สมัยๆ ละ 120 วัน แบ่งสมัยประชุมให้ชัดเจนเป็นสมัยสามัญทั่วไปและสมัยสามัญนิติบัญญัติ และการทำให้การเมืองมีความสุจริตโดยการปรับปรุงการเลือกตั้ง ให้ กกต. จัดการเลือกตั้ง, ให้ กกต. มีอำนาจให้ใบเหลืองใบแดง, ให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเพิ่มมาตรการป้องกันการทุจริตของนักการเมืองมากขึ้นจากการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน |
แต่ประเด็นปัญหาของการเมืองไทย เช่น การทุจริต คอร์รัปชั่น การซื้อเสียง หรือ การเอื้ออำนวยผลประโยชน์ต่อพวกพ้องของตนก็ยังไม่ได้หมดไป ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงและมากขึ้นด้วยเสียอีก ดังจะเห็นได้จากข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการจับทุจริตทั้งของข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง, การซื้อเสียงเลือกตั้ง, การไม่เข้าประชุมสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ การลอบยิงผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่าการแก้ไขปัญหาที่ตัวระบอบการเมืองการปกครองของไทยหรือตัวบทกฎหมายนั้นแท้จริงแล้วยังไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง สาเหตุที่ทำให้ประชาธิปไตยของไทยไม่ดีเท่าที่ควรนั้นจริงๆแล้วเป็นผลมาจากคนไทยส่วนใหญ่เบื่อการเมืองไม่สนใจการเมือง ไม่เห็นความสำคัญของการเมือง, มีความรู้ความเข้าใจการเมืองที่ไม่ถูกต้อง จึงยังคงใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไม่มีวิจารณญาณที่ดีพอ, ไม่ติดตามหรือตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมือง, ขาดวิจารณญาณที่ดีในการตัดสินใจ และเชื่อในคำบอกเล่าของผู้อื่นโดยปราศจากการตรวจสอบเรื่องราวด้วยตนเอง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุจึงควรอยู่ที่ระดับภาคประชาชน เราควรปลุกจิตสำนึกทางการเมืองให้แก่คนไทย เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน เป็นสิ่งที่ใครๆก็ได้รับผลกระทบ ดังที่นาย อิสตัน เดวิช นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคมมนุษย์มีผลประโยชน์ร่วมกันในสังคม มนุษย์จึงต้องมีระบบการจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิกในสังคม ซึ่งระบบนี้ก็คือ การเมือง!” การที่ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาให้ก้าวไกลได้เท่ากับประเทศอื่นๆ ที่แต่ก่อนเขาด้อยพัฒนากว่าเราอย่างเช่นญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรต่างๆ อุดมสมบูรณ์นั้นที่จริงแล้วก็เป็นผลมาจากการที่เรามีระบบการจัดสรรผลประโยชน์ หรือสิ่งที่เราเรียกว่า การเมือง ไม่ดีนั่นเอง สิ่งเหล่านี้จะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นได้ก็ด้วยการที่เราให้การศึกษาทางการเมืองและรู้เท่าทันทางการเมือง โดยเริ่มตั้งแต่เด็กในโรงเรียน, เยาวชน ,ไปจนกระทั่งผู้ใหญ่ ให้มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองของประเทศ
ในระดับโรงเรียนซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญและเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการปลูกฝังจิตสำนึกให้เห็นประโยชน์สังคมเป็นที่ตั้ง โดยให้มีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนใหม่เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เรียนสนใจประเด็นทางสังคม มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองมากยิ่งขึ้น มีการฝึกฝนให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่เชื่อตามคำชักจูงง่ายๆ มีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย คือ การเห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม, การรักความเสมอภาคและความยุติธรรม, การรู้จักใช้สิทธิแต่ไม่ละทิ้งหน้าที่, การใช้เสรีภาพอย่างรับผิดชอบ, ความมีภราดรภาพแม้มีความแตกต่างทางความคิด แต่ไม่สร้างความแตกแยกสู่สังคม การใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีเพื่อความสงบสุขของสังคมส่วนรวม การยึดหลักความจริง ความดีงาม ความถูกต้อง และความมีเหตุมีผล สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการจัดการเรียนการสอนใหม่เพื่อสร้างพลเมืองใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยได้
วันที่ 2 เป็นการจัดประชุมแบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง โดยให้ผู้เข้าร่วมได้นำเอาแนวคิด หลักการ และวิธีการมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งได้มีการเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม และมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับแนวคิด ความหมาย และวิธีการ ที่จะสร้างโครงงานเพื่อสร้างกระบวนการกลุ่มในการฝึกการคิด การทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุสู่เป้าหมายให้ได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของความเป็นพลเมือง
อย่างไรก็ดี ผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ เห็นว่า การจัดครั้งนี้ควรมีเวลามากขึ้น และขยายกลุ่มเป้าหมายไปทั่วประเทศ ให้เป็นนโยบายระดับรัฐบาล เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างพลเมืองใหม่ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และควรทำโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลดีในการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน | 
ถ่ายภาพร่วมกัน |
|
|