IPPS in last year
Contact us
Site Map
Homepage
หน้าแรกHomepageAbout IPPSAbout IPPSPublicationPublicationArticleDemocracy MonitoringDemocracy MonitoringSocial ReformActivities
 
ปฏิรูปการเมือง
ความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย

วันที่ 28 กรกฎาคม 2554 สถาบันนโยบายศึกษา ร่วมกับ การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย” ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับส่วนราชการภาครัฐที่ดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษานอกระบบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานระหว่างกันและอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความรู้ด้านการสร้างพลเมืองให้เกิดขึ้นในครรลองของระบอบประชาธิปไตย


คุณยศวดี บุณยเกียรติ ผอ.ร่วม สถาบันนโยบายศึกษา กล่าวเปิดการสัมมนา

ผู้เข้าร่วมสัมมนา


การจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากคุณมงคล กาฬคลอด ผู้อำนวยการ กศน. จังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้กล่าวต้อนรับแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงความร่วมมือกับสถาบันนโยบายศึกษาในโอกาสต่อไปอีกด้วย การสัมมนาครั้งนี้ เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการคิด พูด และลงมือทำ โดยใช้กระบวนการที่ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมเต็มที่


กระบวนการกลุ่ม “คิดอย่างไรให้เป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย” โดย ดร.ชาติ แจ่มนุช ศึกษานิเทศก์ สนง.เขตพื้นที่การศึกษา กทม. เขต 1

แบ่งกลุ่มทำกระบวนการกลุ่ม

โดยเริ่มต้นจากระบวนการกลุ่ม เรื่อง “คิดอย่างไรให้เป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย” ดร.ชาติ แจ่มนุช เป็นวิทยากรกิจกรรมกลุ่ม กระบวนการดังกล่าวนี้ เพื่อให้ทุกได้ตรวจสอบบทบาทของตนตามสาขาอาชีพที่เป็นอยู่แล้วนั้น ได้มีส่วนเกื้อหนุนและสนับสนุนบทบาทของ “ความเป็นพลเมือง” ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างไร เพราะความเป็นพลเมืองนี้ มีความหมายกว้างไกลกว่าการเป็นทหาร หรือเสียภาษีเมื่อมีรายได้ แต่หมายรวมถึงการมีบทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น จนกระทั่งระดับชาติ การจะเป็นพลเมืองให้มีความรับผิดชอบได้เช่นนี้ จำเป็นต้องสร้างระบอบการศึกษาที่จะอำนวยต่อการสร้างความสามารถและศักยภาพของพลเมืองให้คิดพึ่งพาตนเองได้ และรับผิดชอบต่อส่วนรวมส่วนใหญ่ด้วย


คุณทิพย์พาพร ตันติสนุทร ผอ.ร่วม สถาบันนโยบายศึกษา
นำกิจกรรม World Café
World Café เรื่อง “บทบาทพลเมืองกับทางออกประชาธิปไตย” โดยคุณทิพย์พาพร ตันติสุนทร ได้สร้างบรรยากาศการสัมมนาให้เป็นสภากาแฟ ที่มีการพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นมิตรและอบอุ่น ต่อกรณีปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทย สภากาแฟที่ฝึกให้เกิดการแสดงความคิดเห็นจากใจ และรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและทางออกของปัญหาอย่างเปิดกว้างร่วมกัน เป็นการยอมรับประสบการณ์ที่มีความหลากหลายและหลอมรวมให้เกิดเอกภาพภายใต้ความอยู่รอดของสังคมไทยด้วยกัน


คุณโสพล จริงจิตร บรรยายเรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับความเป็นพลเมือง”
และ เรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับความเป็นพลเมือง” โดย คุณโสพล จริงจิตร จากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดข้นในสังคมไทย ที่แต่ละฝ่ายได้กระทำการละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งไม่ยอมรับการแตกต่างทางความคิด ซึ่งสังคมไทยจะต้องฝึกฝน เรียนรู้ให้ยอมรับความคิดเห็นที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ก็สามารถพูดคุย และทำงานร่วมกันได้ ไม่จำเป็นต้องทำลายล้างกัน กระทั่งนำไปสู่ความหายนะทั้งสังคม นับเป็นบทเรียนล้ำค่าที่สังคมจะต้องมาทบทวนเพื่อสร้างอนาคตของประเทศใหม่ ด้วยการสร้างคนใหม่ให้เข้ากับระบอบที่เราใช้อยู่ คือ ระบอบประชาธิปไตย ให้รู้จักคุณค่าของชีวิต ของความคิด ให้ได้แสดงออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นบทบาทของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ทั้งนี้ ดำเนินรายการโดย พ.ต.อ.สมพล รัฐกาญจน์


(จากซ้าย) คุณมงคล กาฬคลอด ผอ. กศน. จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ พ.ต.อ.สมพล รัฐกาญจน์ ให้เกียรติเป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยที่กลุ่มเป้าหมายหลักของการจัดงานครั้งนี้ คือ นักศึกษาจาก กศน. ประมาณ 60 คน แต่ก็ได้รับความสนใจมากถึง 113 คน ซึ่งมีเพิ่มเติมมาจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรจาก กศน. ด้วย นอกจากนี้ยังมีนักการเมองท้องถิ่น ผู้ประกอบการวิทยุชุมชน ที่สนใจก็เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย ทำให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนามีความหลากหลายตั้งแต่อายุ สถานภาพทางสังคม และอาชีพ

เสียงสะท้อนจากจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ ก็คือ ความสนใจในประเด็นเรื่อง “ความเป็นพลเมือง” ทั้งวิธีคิดและการปฏิบัติ หรือบทบาทของความเป็นพลเมืองกับบทบาทประชาธิปไตย ความสนใจดังกล่าวได้สะท้อนจากการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกระหว่างการสัมมนา ซึ่งส่วนใหญ่ได้มีการพูดถึงปัญหาของความขัดแย้งทางสังคม-การเมือง ที่ผ่านมา และอยากแสวงหาทางออกของปัญหา เพราะอยากให้สังคมสงบสุข การใช้กระบวนการให้มีการ “ได้คิด” “ได้ฟัง” “ได้แสดงออก” และ “ได้บอกทางออก” อย่างสังเคราะห์ และมีการพิจารณาด้วย ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา “ได้รู้สึก” ถึงความเป็นประชาธิปไตย ได้มีความรู้และประสบการณ์เพิ่ม ได้เข้าใจปัญหาของบ้านเมืองมากขึ้น และความเชื่อมโยงเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตย ซึ่งจะทำให้ได้แสดงบทบาทของความเป็นพลเมืองในวิถีชีวิตได้
 


Print Version