![]() เรื่อง สิทธิมนุษยชน : ฟาร์มเลี้ยงกุ้งกับคลองทท่าทอง บทเรียนการละเมิดสิทธิชุมชน(2)
ปุจฉา : ในการตรวจสอบในเรื่องนี้ต้องตรวจสอบอย่างไรบ้าง ผลการตรวจสอบเชื่อถื่อได้หรือไม่ วิสัชนา : ในเรื่องนี้อนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 4 ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 14 ให้ดำเนินการตรวจสอบโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมได้ประสานงานกับหน่วยงาอื่นๆเพื่อเข้าไปตรวจสอบคุณภาพน้ำและสภาพของฟาร์ม โดยมีอนุกรรมการคุ้มครอง 4 เป็นผู้สังเกตการณ์ในการตรวจสอบ การตรวจสอบคุณภาพน้ำได้มีการตรวจสอบ 3 จุดบริเวณคลองท่าทอง ช่วงต้นน้ำก่อนเข้าสู่ฟาร์ม จุดที่ 2 บริเวณคลองสาธารณะภายในฟาร์ม และจุดที่ 3 บริเวณสะพานข้ามคลองท่าทองช่วงปลายน้ำห่างจากฟาร์ 50 เมตร ผลการตรวจสอบปรากฏว่า พบคุณภาพน้ำในจุดที่ 2 บริเวณคลองสาธารณะภายในฟาร์ม มีปริมาณค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มากว่าหรือเท่ากับ 7.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมากกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินระดับ 4 หรือคุณภาพน้ำอยู่ในระดับเสือมโทรม แต่อย่างไรก็ตามสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคได้มีความเห็นว่าเนื่องจากในวันที่ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงกุ้งดังกล่าวไม่มีการปล่อยน้ำทิ้ง จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ ปุจฉา : ประชาชนมีสวนร่วมได้จริงหรือ หรือเป็นเพียงแค่ไม้ประดับ วิสัชนา : ได้มีการประชุมร่วมกันในการแก้ปัญหาคลองท่าทอง ที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีรองผู้ว่าจังหวัดเข้าร่วมพร้อมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและประชาชนควรได้รับผลกระทบ ในการประชุมครั้งนี้ค่อนข้างจะเห็นตรงกันว่า ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งโดยมีตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบและติดตามในจำนวนที่เหมาะสม เพื่อติดตามแก้ไขปัญหานี้ นายพิทักษ์ เกิดหอม อนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยน 4 ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ From : http://www.fpps.or.th |